Error เตือนแบบไหนที่คนดูแลเว็บไซต์ต้องรู้
Error เตือนแบบไหนที่คนดูแลเว็บไซต์ต้องรู้ หากใครที่มีเว็บไซต์ธุรกิจเป็นของตัวเองหรือใครที่กำลังดูแลเว็บไซต์แล้วพบว่าหน้าเว็บไซต์ของคุณขึ้น Error แบบนี้ก็อาจจะทำให้เว็บไซต์ชะงัก ขาดการเข้าชมจากลูกค้าหรือร้ายกว่านั้นอาจจะส่งผลเสียต่อเว็บไซต์ที่ทำ SEO เพื่อเป็นการเตรียมและรับมือกับการ Error ของหน้าเว็บไซต์ วันนี้เราได้รวบรวม Error แต่ละ code มาให้คุณได้ทำความรู้จักกันค่ะ
โดย Error code จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่
- code ที่ขึ้นต้นด้วย 4xx Client Error
- code ที่ขึ้นต้นด้วย 5xx Server Error
เริ่มต้นที่ 4xx Client Error
- 400 Bad Bad Request การ Error 400 เกิดจากกับ URL มีข้อผิดพลาด เช่น การเขียนตัวอักษรเล็กและใหญ่สลับที่กัน หรือมีการใช้เครื่องหมายผิด เป็นต้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หน้าเว็บไซต์ไม่สามารถแสดงผลได้
- 401 Unauthorized สำหรับการ Error 401 เกิดจากที่คุณพยายามเข้าใช้เว็บไซต์ ที่คุณไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าใช้งาน หรืออาจจะเกิดจากการใส่พาสเวิร์ดผิด ในกรณีนี้ให้คุณลองตรวจพาสเวิร์ดอีกครั้ง ดูให้แน่ใจว่าได้ใส่รหัสที่ถูกต้องหรือไม่
- 403 Forbidden/Access Denied สำหรับการ Error 403 จะคล้ายกับ Error 401 คือไม่ได้รับอนุญาตในเข้าใช้งานเว็บไซต์นั้น
- 404 Not Found เกิดจากเซิร์ฟเวอร์ไม่สามารถหาไฟล์ที่คุณต้องการได้ ซึ่งไฟล์ที่คุณต้องการอาจจะถูกย้ายไปที่อื่น มีการเปลี่ยนชื่อ ไฟล์ถูกลบ หรืออาจมีการเปลี่ยน URL จึงทำให้เซิร์ฟเวอร์หาไฟล์ไม่เจอ เรามักจะเห็นคำต่อไปนี้อยู่บ่อย ๆ คือ “ The page cannot be found. “ หรือ “ The requested URL was not found on this server. “ หากเจอปัญหานี้ ให้คุณกลับไปตรวจสอบที่ URL ของหน้านั้นว่าถูกต้องหรือไม่
- 408 Request Timeout ข้อผิดพลาดนี้เกิดจากการหยุดโหลดเว็บไซต์ก่อนที่เซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อมูลสำเร็จ ซึ่งอาจจะเกิดจากผู้ใช้ไปคลิกปุ่ม stop หรือปิดบราวเซอร์ หรือไปคลิกลิงก์ก่อนที่เว็บเพจนั้นจะโหลดขึ้นมา โดยส่วนมากมักจะเกิดตอนที่เซิร์ฟเวอร์ช้าหรือไฟล์มีขนาดใหญ่เกินไป
มาต่อกันที่ 5xx Server Error
- 500 Internet Error เกิดจากเว็บไซต์ไม่สามารถเรียกไฟล์เอกสาร HTML ได้ เนื่องจากอาจมีปัญหาเกี่ยวกับ การตั้งค่าเซิร์ฟเวอร์ วิธีแก้ไขปัญหาเรื่องนี้คือ ให้คุณติดต่อผู้ที่ดูแลเว็บไซต์ หรือผู้ดูแลเซิร์ฟเวอร์เว็บไซต์ของคุณ ให้แก้ไขปัญหาเรื่องนี้ให้
- 501 Not Implemented เซิร์ฟเวอร์นั้นไม่รองรับรูปแบบ (Feature) ที่คุณต้องการ
- 502 Service Temporarily Overloaded เกิดจากเซิร์ฟเวอร์หรือหน้าเว็บไซต์นั้นมีผู้เข้ามาใช้งานมากเกินไป ทำให้เกิดการ Error ให้คุณลองโหลดใหม่ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเข้าใช้งานได้
- 503 Service Unavailable ปัญหานี้เกิดจากเซิร์ฟเวอร์ทำงานหนักจนไม่สามารถตอบสนองได้ เลยเกิดอาการเข้าถึงหน้าเว็บไซต์ไม่ได้ชั่วคราว หรือ เซิร์ฟเวอร์ อยู่ในระหว่างการซ่อมแซมอยู่ก็ได้
หากเว็บไซต์ของคุณเกิด Error เหล่านี้แล้วไม่รู้จะแก้ไขอย่างไร ให้เรา KTn develop ได้ดูแลเว็บไซต์คุณสิคะ เพราะเราคือ ผู้ให้บริการด้านการบริหารจัดการเว็บไซต์ เรารับดูแลเว็บไซต์ และ Social Media ให้ประสบความสำเร็จ เรามีบริการที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น Web design, Webmaster, Web SEO, Web Application and Social Media Marketing ด้วยประสบการณ์การทำงานด้านเว็บไซต์มากกว่า 10 ปี
สนใจให้เราดูแลธุรกิจของท่านหรือปรึกษาเรื่องการตลาดออนไลน์การสามารถติดต่อมาได้ที่
Tel: 02-9504253
Phone: 062.424.1394
Email: INFO@KTNDEVELOP.COM
Facebook: KTn develop
Line OA : @KTNDEVELOP
บทความที่เกี่ยวข้อง
- วิธีดูแลเว็บไซต์ให้ห่างไกลสแปม
- ลงทุนกับบริษัทดูแลเว็บไซต์คุ้มค่าอย่างไร
- 4 ความท้าทาย ที่ผู้ดูแลเว็บไซต์หรือคนทำ SEO ต้องเจอ